analyticstracking
หัวข้อความคาดหวังของเยาวชนด้านการใช้สื่อดิจิทัล หลังการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัล
            เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เยาวชน 32.5% ใช้เวลาอยู่กับสื่อออนไลน์และสังคมออนไลน์ ประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน
75.1% ได้รับความสุขจากการ พูดคุย/chat ผ่านสื่อออนไลน์
71.5% มีพฤติกรรม “อ่านจบคิดก่อนเห็นว่าดีจึงแชร์”
61.9% ยอมรับเสี่ยงโดนล้วงข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต
หวังให้ “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” แยกแยะสื่อ/ข้อมูล ที่เหมาะสมกับเยาวชน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  ตามที่ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2559 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2559 โดยมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิก
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้จัดตั้ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับ
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติและราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย
กำหนด โดยสื่อออนไลน์และสังคมออนไลน์ที่หลายคนใช้อยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นสื่อดิจิทัลสื่อหนึ่ง
ที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงนี้ด้วยเช่นกัน และผู้ที่ใช้ส่วนหนึ่งนั้นก็คือเยาวชน
ประกอบกับในวันที่ 20 กันยายน ของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ
กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้สำรวจความเห็นของ
เยาวชนเรื่อง “ความคาดหวังของเยาวชนด้านการใช้สื่อดิจิทัล หลังการจัดตั้ง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”
โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนในกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวน 1,248 คน พบว่า
 
                 เยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.5 ใช้เวลาอยู่กับสื่อออนไลน์และสังคม
ออนไลน์ ประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน
รองลงมา ร้อยละ 18.9 ใช้เวลาประมาณ 5-6
ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 13.7 ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณา
แล้วพบว่า ร้อยละของเยาวชนที่ใช้เวลาอยู่กับสื่อออนไลน์/สังคมออนไลน์ตั้งแต่ 5 ชั่วโมง
ไปจนถึงมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจเมื่อปี 2556
 
                 โดยผลสำรวจความสุขที่เยาวชนได้รับจาก การใช้สื่อออนไลน์/สังคมออนไลน์พบว่า ร้อยละ 75.1
เป็นความสุขที่ได้พูดคุย/chat
รองลงมาร้อยละ 48.5 ได้รับความสุขจากการได้ติดตามข่าวสารต่างๆ และ 48.1 ได้รับ
ความสุขจากการได้ดูความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ
 
                 ด้านพฤติกรรมการแชร์หรือส่งต่อข้อมูลผ่าน สื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์ เยาวชนร้อยละ 71.5
มีพฤติกรรม อ่านจบคิดก่อนเห็นว่าดีจึงแชร์
รองลงมาร้อยละ 11.1 ระบุว่า มีพฤติกรรมแชร์เฉพาะเรื่องที่ต้องการเปลี่ยน
แปลงสังคม และร้อยละ 7.5 ระบุว่า เค้าแชร์มาเราแชร์ต่อ เพิ่มยอดวิว
 
                 ด้านความคิดเห็นของเยาวชนต่อภัยและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจาก สื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์
นั้น ร้อยละ 61.9 คิดว่า เสี่ยงโดนล้วงข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต
รองลงมาร้อยละ 45.4 เสี่ยงถูกหลอก ล่อลวง
ให้หลงเชื่อ และ ร้อยละ 43.9 เสียงโดนปล่อยไวรัส เข้าใน smartphone / คอมพิวเตอร์
 
                  สุดท้ายเรื่องที่คาดหวังให้ “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” เข้ามาดูแลเยาวชนมากที่สุด
ร้อยละ 30.5 คาดหวังเรื่องการแยกแยะสื่อ/ข้อมูล ที่เหมาะสมกับเยาวชน
รองลงมาร้อยละ 27.1 คาดหวังเรื่องการ
ป้องกันภัย/การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 17.6 คาดหวังให้มีความรวดเร็วในการแก้ปัญหาเยาวชนที่เกิดจาก
โลกออนไลน์
 
 
                 ดังรายละเอียดในต่อไปนี้
 
             1. การทราบเรื่องการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 แทนระบบแอดมิชชั่น

 
สำรวจเมื่อ
เพิ่มขึ้น
/ลดลง
ปี 2556 (ร้อยละ)
ปี 2559(ร้อยละ)
น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน
3.0
2.3
-0.7
ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
19.7
13.7
-6.0
ประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน
32.6
32.5
-0.1
ประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน
17.1
18.9
+1.8
ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
8.7
10.7
+2.0
ประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน
9.9
11.8
+1.9
มากกว่า10 ชั่วโมงต่อวัน
9.0
10.1
+1.1
 
 
             2. เมื่อถามว่า “ได้รับความสุขจากการใช้ สื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์ ในเรื่องใดมากที่สุด”

 
ร้อยละ
พูดคุย/chat
75.1
ติดตามข่าวสารต่างๆ
48.5
ดูความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ
48.1
ดูคลิป/แชร์คลิป
47.3
โพสต์ข้อความ / update status ของตัวเอง
41.9
เล่นเกมส์
37.7
ติดตาม ดารา นักร้อง (fan page)
22.5
ซื้อสินค้าออนไลน์
19.5
ขายสินค้าออนไลน์
7.8
 
 
             3. พฤติกรรมการแชร์หรือส่งต่อข้อมูลผ่าน สื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์ ในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
อ่านจบคิดก่อนเห็นว่าดีจึงแชร์
71.5
แชร์เฉพาะเรื่องที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม
11.1
เค้าแชร์มาเราแชร์ต่อเพิ่มยอดวิว
7.5
อ่านหัวข้อปุ๊บแชร์ปั๊บ
4.9
อื่นๆ อาทิ อ่านเฉยๆ ไม่ค่อยแชร์
5.0
 
 
             4. ความเห็นของเยาวชนต่อภัยและความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดจาก สื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์

 
ร้อยละ
การโดนล้วงข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต
61.9
การถูกหลอก ล่อลวง ให้หลงเชื่อ
45.4
โดนปล่อยไวรัส เข้าใน smartphone / คอมพิวเตอร์
43.9
เว็บไซต์ก่อกวนสร้างความรำคาญ
42.4
ถูกคอมเม้นที่ไม่สุภาพ/ถูกหมิ่นประมาท
37.1
การถูกโจรกรรมข้อมูล การค้า การเงิน
33.0
การโดนแอบถ่ายและถูกแชร์คลิป จากผู้ไม่หวังดี
25.2
 
 
             5. เรื่องที่คาดหวังให้ “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ซึ่งมาแทน กระทรวง “ ไอซีที” เดิม
                 มาดูแลเยาวชนมากที่สุด

 
ร้อยละ
แยกแยะสื่อ/ข้อมูล ที่เหมาะสมกับเยาวชน
30.5
ป้องกันภัย/การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
27.1
ให้มีความรวดเร็วในการแก้ปัญหาเยาวชนที่เกิดจากโลกออนไลน์
17.6
พัฒนาระบบเครือข่ายให้ครอบคลุมเพื่อการศึกษาที่เท่าเทียม
17.1
ไม่บล็อกข้อมูล/เว็บไซต์โดยไม่จำเป็น
7.7
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชน เกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวัน ในเรื่องของเวลา
ในการใช้สื่อออนไลน์ต่อวัน ความสุขที่ได้รับจากการใช้ พฤติกรรมการแชร์ข้อมูล ภัยหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
กับตัวเองจากการใช้สื่อออนไลน์ และเรื่องที่คาดหวังจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการดูแลเยาวชน
เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเยาวชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนอายุ 15 – 24 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน
ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางแค บางซื่อ
บางบอน บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง สวนหลวง
และสาทร ส่วนปริมณฑลได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมาย
ที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นคน เป็นเพศชายร้อยละ 47.6 และเพศหญิงร้อยละ 52.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึง
นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 16 – 19 กันยายน 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 กันยายน 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
594
47.6
             หญิง
654
52.4
รวม
1,248
100.0
อายุ:
 
 
             15 ปี - 17 ปี
413
33.1
             18 ปี – 21 ปี
448
35.9
             22 ปี – 24 ปี
387
31.0
รวม
1,248
100.0
การศึกษา:
 
 
             ม.ปลาย / ปวช.
511
40.9
             ปริญญาตรี / ปวส.
513
41.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
22
1.8
             จบการศึกษา / ไม่ได้ศึกษาต่อ
201
16.1
รวม
1,248
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776